เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 5/2567 เพื่อพิจารณา ระเบียบ ประกาศ และวาระที่สำคัญต่อการบริหารมหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมนเรศวร 310 อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร
ก่อนเริ่มการประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ประธานการประชุมฯ มอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติเพื่อแสดงความยินดีแก่ 4 นักวิจัย ที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ดังนี้
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ เชิดชู รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก สาขาปรัชญา ผลงานวิจัยเรื่อง “เพลงปี่มังคละ: การวิเคราะห์และการสร้างสรรค์ทางดนตรี เพื่อการอนุรักษ์และการต่อยอดองค์ความรู้ทางดนตรีอย่างยั่งยืน” (The “Pi-Mangkhala Music”: An Analysis and Music Creation for Preserving Local Wisdom and for Building on the Music Knowledge Outcome to Reinforce a Culture-based Sustainable Society)
- รองศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย ระดับดี ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลกระทบของการปลูกยาสูบและแนวทางการขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชทางเลือกและอาชีพทดแทนการปลูกยาสูบของชาวไร่ยาสูบในประเทศไทย” (The Impacts of Tobacco Cultivation and Alternative Crop and Livelihood Promotion for Tobacco Farmers in Thailand)
- รองศาสตราจารย์ ดร.วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลงานวิจัยเรื่อง “หลอดเก็บเลือดอินโนเมดชนิดสุญญากาศสาหรับเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจวัดน้าตาลและสารชีวเคมีทางห้องปฏิบัติการทางการเเพทย์” (Innomed, Vacuum Blood Collection Tubes for Glucose and Biochemical Tests in Clinical Laboratories)
- ดร.สุชานัน หรรษอุดม รางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี สาขานิติศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการพัฒนากังหันลมนอกชายฝั่งในประเทศไทย” (Towards Environmental Impact Assessment on the Protection of Marine Ecosystems from Offshore Wind Power Development in Thailand)
ทั้งนี้ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลด้านการวิจัยที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการและวิจัยระดับประเทศ และเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจของนักวิจัยที่ได้รับ ซึ่งเกิดจากการทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญา ในการอุทิศตนและมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างแท้จริง